| |
��จากนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย สร้างวิตามินดี ป้องกันการสูญเสียน้ำ รับรู้ความรู้สึก และขจัดของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่อ เป็นต้น
1. แสงแดด ทั้งรังสียูวีเอ ที่ทำลายโครงสร้างของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น รังสียูวีบีที่ทำให้เกิดผิวหนังดำคล้ำ หรือทำให้เซลล์ผิวหนังเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง ดังนั้นจึงต้องป้องกันด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF (สำหรับป้องกันรังสียูวีบี) และค่า PA (สำหรับป้องกันรังสียูวีเอ) ที่เพียงพอและทาเป็นประจำ 2. อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกริยาออกซิเดชั่น จึงได้มีการคิดค้นสารที่เป็น Antioxiants ที่จะจำกัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ ทั้งในรูปของครีมบำรุงผิว และ ในรูปของอาหารเสริม เช่น กลุ่ม Glutathione peroxides,Selenium,Viamin C, Vitamin E, Vitamin A , Beta carotene , Coenzyme Q10 (ซึ่งได้เขียนบทความโดยละเอียดไว้แล้วที่นี่http://www.clinicneo.co.th/column/col.php?cid=129) 3. สิ่งแวดล้อม มลพิษ เขม่าควันต่างๆ 4. การได้รับสารอาหารสำหรับผิวพรรณไม่เพียงพอ 1. Vitamin C เป็นสาร Antioxidantsที่พบมากที่สุดในผิวหนัง ทำหน้าที่ลดอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่น และมีความจำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นหนังแท้ ใช้ป้องกันและรักษาเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ ลดรอยหมองคล้ำ ฝ้า กระ รอยด่างดำตามร่างกาย อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว ฝรั่ง มะขาม มะละกอสุก แคนตาลูป มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ดอกกระหล่ำเป็นต้น ซึ่งหากรับประทานอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ อาจจะรับประทานวิตามินซีสังเคราะห์วันละ 500-100 มก.ก็เพียงพอ เพราะหากรับประทานในปริมาณสูงกว่านี้ อาจทำให้ระดับ oxalate ในปัสสาวะสูง เกิดนิ่วในไตได้ 2. Vitamin E เป็นสาร Antioxidants ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันเนื้อเยี่อจากการถูกเอนไซม์ทำลาย ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ ป้องกันและลดอันตรายจากแสงแดด และลดการเกิดเซลล์มะเร็งได้ ลดความเสื่อมของผิวหนังที่ทำให้เกิดริ้วรอย อาหารที่มีวิตามินอีสูง ได้แก่ น้ำมันพืชประเภทน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันรำข้าว งา น้ำมันสลัด ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว ซึ่งหากรับประทานอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ อาจจะรับประทานวิตามินอีในรูปอาหารเสริม วันละ 400 มก.ก็เพียงพอ 3. Vitamin A โดยใช้สารตั้งต้นที่ชื่อ เบต้าแคโรทีน และสารแคโรทีนอยด์ แล้วร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มเรตินอล (Retinol) ซึ่งปัจจุบันได้มีการคิดค้นเกี่ยวกับสารสังเคราะห์สำหรับผิวพรรณที่เรียกว่า กลุ่มเรตินอยด์ ทั้งในรูปของครีมทา และยารับประทาน ( ซึ่งนำมารักษาสิว ริ้วรอยนั่นเอง) เลียนแบบวิตามินเอ ( เรตินอล) จากธรรมชาติ เพราะมีรายงานมากมายที่สนับสนุนว่า วิตามินเอ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อ ของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอผิวเสื่อม ริ้วรอยย่นก่อนวัย อาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ อาหารจากผลิตภัณฑ์สัตว์ ตับ น้ำมันตับปลา ไข่ นม ผักผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป กล้วยไข่ ลูกท้อแห้ง เป็นต้น ร่างกายปกติ ต้องการวิตามินเอ ประมาณ 1000 ไมโครกรัมต่อวัน ( ในรูปของ Retinol) 4. ซีลีเนียม ( Selenium) ถือเป็นสารที่สำคัญที่ทำงานร่วมกับวิตามินอี ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความยืดหยุ่นแก่ผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง ผิวหนังจากแสงแดด การทาครีมที่ผสมซิลีเนียม จะทำให้ลดอาการแดดเผา ผิวหนังอักเสบได้ และป้องกันมะเร็ง ยังไม่มีรายงานการขาดสารซิลีเนียมในคนแล้วเกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารที่มีซิลีเนียม ส่วนใหญ่ร่างกายจะได้รับเพียงพอ เพราะต้องการเพียงปริมาณไม่มากนัก อาหารเหล่านี้ได้แก่ อาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ กระเทียม ไข่ เมล็ดพืชต่างๆ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรับประทานเป็นอาหารเสริม เพราะอาจจะมีปริมาณสูงเกินไป ส่วนใหญ่จะนำมาผสมในครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด 5. ไบโอติน สารอาหารที่อยู่ในตระกูลวิตามินบี เป็นสารที่มีประโยชน์ในเรื่องการเผาผลาญ และปรับสมดุลของการไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต การขาดวิตามินนี้ จะทำให้ผิวแห้ง เบื่ออาหาร เส้นผมและเล็บเปราะหักง่าย ผมงอกช้า อาหารที่มีไบโอตินสูง ได้แก่ ขนมปัง ธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ อาหารโปรตีนสูง ไข่แดง ตับ บรูเวอร์ยีสต์ ข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่างๆ ปกติร่างกายของเราจะได้รับสาร ไบโอติน ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ แต่โชคดีที่ภายในร่างกายมี แบคทีเรียที่ชื่อ Lactobacillin ในลำไส้ ที่สามารถผลิตสารไบโอตินได้ แต่ถ้าต้องการรับประทานเป็นอาหารเสริม ปริมาณที่เหมาะสมคือ วันละ 600-1,200 มก. 6. สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์กว่า 70 ชนิด ทั้งที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการดูดซึมของกรอไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามินเอ ได้ดีขึ้น มีความสำคัญในการรักษาแผลหรือสมานแผล อาหารที่มีสังกะสีสูง ได้แก่ หอยนางรม อาหารทะเล ตับ ชีส เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ นม รวมทั้งธัญพืชที่ไม่ได้ขัด ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง และถั่วเปลือกแข็ง ร่างกายต้องการสังกะสี ในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละเพศ วัย และภาวะของร่างกาย แต่โดยเฉลี่ยไม่ควรเกินวันละ 15-30 มก. 7. Coenyme Q10( Uniquinone) เป็นสารAntioxidants ที่ค้นพบมานานแล้ว โดยพบมากที่อวัยวะที่มีการ metabolism สูง เช่น หัวใจ ไต และตับ โดยทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงาน สำหรับผิวหนัง CoQ10 จะพบมากในชั้น epidermis มากกว่า dermis มีสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ( free radicles) จึงเชื่อว่า สามารถลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ ปัจจุบัน ได้นำมาทำเป็นครีมทาเฉพาะที่ เพื่อลดริ้วรอย โดยเฉพาะรอยดวงตา |
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556
โภชนาการอาหารสำหรับผิวพรรณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อผิวพรรณที่ดี
ตอบลบอยากผิวสวย ต้องกินของดีดี ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิว
ตอบลบ