วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives)

      http://www.gotoknow.org/posts/399434   ได้รวบรวมไว้ว่า วรรณี  แกมเกตุ (2551, หน้า 64-65)  กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องและมีความสืบเนื่องจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
2. มีความชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อ ต้องสามารถศึกษาหาคำตอบได้
4. ควรเขียนให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า
5. ควรเป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
6. ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับของการศึกษา หรือเรียงลำดับตามความสำคัญหรือจุดเน้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการวิจัยแต่ละเรื่อง
     http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้ รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2ชนิด คือ
        3.1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
       ตัวอย่างเช่น
                  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        3.2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะ พรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  3.2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  3.2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06 ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
              ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะ พรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
                
สรุป วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2ชนิด คือ
        3.1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น       
3.2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะ พรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ

อ้างอิง 
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06 เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555
http://www.gotoknow.org/posts/399434   เข้าถึงเมื่อ  10 พฤศจิกายน 2555





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น