2.ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย(Background&Rationale)
การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบโดยกระบวนการวิจัย ข้อคำตอบที่ค้นพบควรมีลักษณะของการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมจากข้อค้นพบ จากงานวิจัยในอดีต เป็นองค์ความรู้ใหม่ ประเด็นของปัญหาวิจัยไม่มีข้อความเกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความคิดเห็น ต้องมีการแสดงแหล่งหรือที่มาของข้อมูลที่นำมาอ้างอิงหรือสนับสนุนเหตุผลความ จำเป็นในการโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามว่าสมควรทำวิจัยเรื่องดังกล่าว ด้วย และแหล่งข้อมูลดังกล่าวต้องตรวจสอบได้
http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:Jo6lOwP7aTIJ:www.gotoknow.org/b logs/posts/491771+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า
http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:Jo6lOwP7aTIJ:www.gotoknow.org/b logs/posts/491771+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า
หนึ่งในความสำคัญของมนุษย์ชาติคือการวิจัย เพราะเป็นรากเหง้าของความคิดจินตนาการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่นำพาวิถีชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญทางวิทยาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม
การ วิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆ เช่น ทำไมอินเดียจึงมีที่สุดของที่สุดอยู่ในประเทศนั้น คือมีความหนาวที่สุดจนภูเขาเป็นน้ำแข็งอย่างหิมาลัย ขณะเดียวกันอินเดียมีความร้อนสุด ๆ จนมีทะเลทรายที่โยนไข่ลงไปแล้วสุกได้ เป็นต้น
การ วิจัยยังนำวิถีมนุษย์ให้รู้จักค้นหาในสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยความสงสัยในสิ่ง แปลกใหม่ จึงก่อเกิดผลที่ตามมาดังที่เราเห็นได้ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ยารักษาโรค ปุ๋ยเคมีชีวภาพและเรื่องอื่น ๆ มีมายมากที่ได้มาจากการวิจัย
ดังตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนเช่น เมื่อสองพี่น้องกระกูลไรค์ ( Wright ) ชาวอเมริกัน ที่มีความอยากรู้อยากเห็นและสงสัยว่านกมันบินได้ยังไง จนกลายมาเป็นเครื่องร่อนบินเหมือนนกได้ ทำให้เราสะดวกในการเดินทางแทนที่จะอาศัยขี่หลังม้าหลังช้างเดินทางไกลเหมือน อย่างในอดีต
การ วิจัยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามาก ความเจริญก้าวหน้ายิ่งมากขึ้น สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจก่อให้เกิดแก่บุคคลอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ
1 . เป็นประโยชน์แก้นักสังคมศาสตร์ ทำให้มีความรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นของ ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม นอกจากนั้น ยังทราบถึงเทคนิคและทฤษฎีใหม่ที่ได้จากการศึกษาด้วย
2 . เป็นประโยชน์แก่ผู้นำชุมชน และผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพต่าง ๆ เช่น นักบริหาร ครูอาจารย์ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และผู้บริหารงานในภาครัฐ บุคคลเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในการปรับปรุงนโยบาย การวางแผน และการปฏิบัติงานของตน
3 . เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดความเข้าใจในพลวัต ( Dynamic ) และศักยภาพ ( Potential ) ของกิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานส่วนตัว และส่วนรวม. วัลลภ ลำพาย . ( 2547 : 4 ) .
ในยุคปัจจุบันนี้เป็นที่แน่ชัดว่าผู้นำทุกประเทศและนักวิชาการรวมถึงผู้สนใจ ใฝ่รู้ต่างให้ความสำคัญของการวิจัยทั้งนั้น รวมถึงการทุ่มเทงบประมาณลงสู่การวิจัยเพื่อสร้างสติปัญญาของคนในประเทศตน เอง มีการผลิตแม้แต่อาวุธร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธ ระเบิดนิวเคลีย์ หรือส่งคนไปนอกโลกเดินทางในอวกาศ บางประเทศผลิตผลเฉพาะโดดเด่นเช่นด้านน้ำหอมต้องยกให้ฝรั่งเศส เครื่องจักรกลต้องยกให้เยอรมันนี
การผลิตสินค้าได้คุณภาพอย่างนี้ ได้สร้างผลกำไรมหาศาลกลับมาสู้ประเทศเป็นเพราะมาจากผลงานการวิจัยทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ( 2550 : 14 ) ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติให้เป็นประเทศที่กำลัง พัฒนา ( developing country ) อันเนื่องมาจากเมื่อเทียบประเทศไทยกับประเทศที่เจริญรุ่งเรืองในด้าน เทคโนโลยีและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมแล้ว นับได้ว่าประเทศไทยยังอ่อนด้อยอยู่มาก
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm กล่าวไว้ว่า ความ เป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
สรุป
ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย คือ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว หรือ การ วิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆการ วิจัยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามาก ความเจริญก้าวหน้ายิ่งมากขึ้น
ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย คือ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว หรือ การ วิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆการ วิจัยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามาก ความเจริญก้าวหน้ายิ่งมากขึ้น
อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202 .เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555.
http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:T0PwjczePZMJ:blog.eduzones.com/jipatar/85921+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th .เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น