วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
          
  http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ด้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
  http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
 
ทิศนา แขมมณี (2555:99)ได้รวบรวมไว้ว่าองค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
         การเรียนแบบร่วมมือไม่ได้มีความหมายเพียงว่า  มีการจัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วให้งานและบอกผู้เรียนให้ช่วยกันทำงานเท่านั้น  การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้  ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ  5 ประการดังนี้  (Johnson  and  Johnson,  1994:31-37)
  1. การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน  กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ  จะต้องมีความตระหนักว่า  สมาชิกกลุ่มทุกคนมีความสำคัญ และความสำเร็จของกลุ่มขึ้นกับสมาชิกในกลุ่ม
  2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด เป็นปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย  สมาชิกในกลุ่มจะห่วงใย  ไว้วางใจ  ส่งเสริม และช่วยเหลือกันและกันในการทำงานต่าง ๆร่วมกัน
  3. วามรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน  สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ  และพยายามทำงานที่ได้รับหมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
  4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  การเรียนรู้แบบร่วมมือประสบความสำเร็จได้  ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญ ๆหลายประการ  เช่น  ทักษะทางสังคม  ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม  กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของ กลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น  การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มครอบคลุมการวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการทำงานของกลุ่ม

สรุป
       การร่วมมือคือการที่สมาชิกทุกคนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการช่วยกันในการเรียนรู้ช่วยกันในการเรียนรู้
1 .มีการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน  2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน 3. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน  สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  การเรียนรู้แบบร่วมมือประสบความสำเร็จได้  ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญ  5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม  กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของ กลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น  การวิเคราะห์กระบวนกา

   หนังสืออ้างอิง             
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm.htm    เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม  2555
 

    
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)
    กล่าวว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน   กล่าวว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ทิศนา แขมมณี (2555:96)รวบรวมว่า  ทฤษฎี Constructionism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เช่น เดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ เพเพอร์ทได้มีโอกาสร่วมกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา
       แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ  การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง  ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก  ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง
สรุป
นวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง ได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรม  การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังการเรียนรู้ในตนเองของผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง มาต่อยอดจะทำให้เกิดการเรียนรู้ประสบการใหม่ ๆและเกิดขึ้นกับตนเองเป็นการที่เราต้องทำชิ้นงานที่เป็นความสามารถของเราจะทำให้เรามีประสบการณ์มีแนวความคิดใหม่ๆ เป็นการเปิดโลกใหม่สำหรับตัวเราเอง
หนังสืออ้างอิง             
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม  2555  เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2555






 
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ได้รวบรวมไว้ว่า  ทฤษฏีของธอร์นไดค์  เรียกว่าทฤษฏีการเชื่อมโยง (Connetionism  Theory) ทฤษฏีนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า  (Stimulus – S) กับการตอบสนอง (Response – R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า  “การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่ง  (Response – R)  โดยมีหลักเบื่องต้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ  จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี  หรือเหมาะสมที่สุด  เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด (Trial  and error) นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะกระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมากำหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว  การตอบสนองหลายรูปแบบจะหายไปเหลือเพียงการตอบสนองรูปแบบเดียวที่เหมาะสมที่สุด   และพยายามทำให้การตอบสนองเช่นนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่ต้องการให้เรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ
ทิศนา แขมมณี (2555:93)ได้รวบรวมไว้ว่าโจแนสเซน  (Jonassen,1992 -139)กล่าวย้ำว่า  ทฤษฎีการสร้างความรู้จะให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เขาเชื่อว่าคนทุกคนมีโลกของตัวเอง  ซึ่งเป็นโลกที่สร้างขึ้น ด้วยความคิดของตน  และคงไม่มีใครกล่าวได้ว่าโลกไหนจะเป็นจริงไปกว่ากัน  เพราะโลกของใครก็คงเป็นจริงสำหรับคนนั้น  ดังนั้น  โลกนี้จึงไม่มีความจริงเดียวที่จริงที่สุด  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ถือว่าสมองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้
 http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580   จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าสิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้
สรุป
        ทฤษฏีนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีหลักว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ  จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี  หรือเหมาะสมที่สุด  เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะกระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมากำหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ถือว่าสมองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้
หนังสืออ้างอิง             
www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Connectionism_Theory.htm  ข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2555
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580  เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2555

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple lntelligences)
ทิศนา แขมมณี (2555:85) ได้รวบรวมไว้ว่าเชาวน์ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์  มีดังนี้
1. ชาวน์ปัญญาด้านภาษา  แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน  การเขียน  การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น
2. เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์มีระบบระเบียบในการคิด  ชอบคิดวิเคราะห์  แยกแยะสิ่งต่างๆ
เชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์  แสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ  การวาดภาพ  การสร้างภาพ  การคิดเป็นภาพ การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ
4. เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี แสดงออกในด้านจังหวะการร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น
5. เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ  มีความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  ในการเล่นกีฬา  และเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง  การแสดง  การเต้นรำ ฯลฯ
6. เชาวน์ปัญญาการสัมพันธ์กับผู้อื่น  คือมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น
7.  เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง  บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง  มักเป็นคนที่ชอบคิด  พิจารณาไตร่ตรอง  มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
8. เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ    มีความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติการจำแนกแยกแยะ  จัดหมวดหมู่  สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
 http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htm    กล่าวไว้ว่า  ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
           1.    ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
            2.    ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
           3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
          4.  ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
          5.  ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
          6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
          7.ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8.  ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
            ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1.แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3.ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน          
  http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple intelligence.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้านให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่นรวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆด้านและในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง
 สรุป
พหุปัญญามีองค์ประกอบที่สำคัญเชาวน์ปัญญาด้านภาษา  แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน  การเขียน  การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่นเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์มีระบบระเบียบในการคิด  ชอบคิดวิเคราะห์  แยกแยะสิ่งต่างๆ เชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์  แสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ  การวาดภาพ  การสร้างภาพ  การคิดเป็นภาพ การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี แสดงออกในด้านจังหวะการร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ  มีความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  ในการเล่นกีฬา  และเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง  การแสดง  การเต้นรำ ฯลฯเชาวน์ปัญญาการสัมพันธ์กับผู้อื่น  คือมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง  บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง  มักเป็นคนที่ชอบคิด  พิจารณาไตร่ตรอง  มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเองเชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ    มีความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติการจำแนกแยกแยะ  จัดหมวดหมู่  สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
หนังสืออ้างอิง             

ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555
 http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple intelligence.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 19  กรกฎาคม 2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล ( Information Processing Theory)
         
http://www.wijai48.com/learning_ stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมไว้ว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(กล่าวInformation Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
                ทิศนา แขมมณี (2555:85)ได้รวบรวมไว้ว่าคลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:52-108ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
            http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  กล่าวไว้ว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
      
 สรุป             
 ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน 

หนังสืออ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่  22  กรกฎาคม  2555     
 http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2555




 

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

4.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน(Eclecticism)

4.ทิศนา แขมมณี (2555:72)ได้กล่าวไว้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน(Eclecticism)


      กาเย ( Gagne') เป็นนักจิตวิทยาและการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยม
กับพุทธินิยม โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
ทฤษฎีการเรียนรู้กาเย(Gagne’)
1. การเรียนรู้สัญญาณ
2. การเรียนรู้สิ่งเร้า -การตอบสนอง
3. การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
4. การเชื่อมโยงทางภาษา
5. การเรียนรู้ความแตกต่าง
6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
7. การเรียนรู้กฎ
8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา

 (http://sites.google.com/site/pattyka034/naewkhid/naewkhid-keiyw-kab-kar-sxn)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเยว่า  กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  9  ประการ ได้แก่     
     1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
     2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
     3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
     4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
     5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
     6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
     7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
     8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
     9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
images.ase05.multiply.multiplycontent.com  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต
กาเย  (Robert  Gagne)  เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002)   ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition  of  Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยจัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง   กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง   ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน   กาเยจึงได้เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท   ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน


 สรุป  

       การเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเยว่า  กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  ได้แก่  เร่งเร้าความสนใจ     บอกวัตถุประสงค    ทบทวนความรู้เดิม
นำเสนอเนื้อหาใหม่   ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ จะมีความสอดคล้องกับการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สัญญาณเป็การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่าง
อัตโนมัตการเรียนรู้สิ่งเร้า -การตอบสนอง การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง การเชื่อมโยงทางภาษา การเรียนรู้ความแตกต่าง  ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ผสมผสานกัน

            

เอกสารอ้างอิง

     

ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.images.ase05.multiply.multiplycontent.com   เข้าถึงเมื่อ 14กรกฎาคม 2555    
http://www.sites.google.com/site/pattyka034/naewkhid/naewkhid-keiyw-kab-kar-sxn  เข้าถึงเมื่อ 14กรกฎาคม 2555    

  

3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)

      3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)
Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส(Rogers,1969)มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้(supportive atmosphere)และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(student-centered teaching)โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ(non-directive)และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(facilitator) และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ(process learning)เป็นสำคัญ
Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)
    1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    2. การ เรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
    3. มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
    4. มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
     5. มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น
             ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์(Maslow,1962)ได้กล่าวไว้ว่า ทิศนา แขมมณี (2555:69)
  1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ขั้นความต้องการความรัก ขั้นความต้องการยอมรับและการยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่
  2) มนุษย์มีความต้องการที่รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองประสบการณ์ที่เรียกว่า “peak experience” เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง มีลักษณะน่าตื่นเต้น  เป็นความรู้สึกปีติ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้

 

สรุป 

      ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม คือการที่มนุษย์เรียนรู้ในสภาพการณ์ที่เป็นอิสระในการที่จะมีประสบการณ์ที่เขาได้ผ่านมามนุษย์จะพอใจมีตัดสินใจเลือกมากมาย  คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจ  ความมั่นคงปลอดภัยให้กับตนเอง  นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า  มนุษย์ควรได้รับความช่วย เหลือจากทุกคนในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้  หรือ การมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด  เจตคติ  จุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง เพื่อให้มนุษย์มีการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

 ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dr.Surin.[ออนไลน์]:http://surinx.blogspot.com/, เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2555