วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

4.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน(Eclecticism)

4.ทิศนา แขมมณี (2555:72)ได้กล่าวไว้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน(Eclecticism)


      กาเย ( Gagne') เป็นนักจิตวิทยาและการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยม
กับพุทธินิยม โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
ทฤษฎีการเรียนรู้กาเย(Gagne’)
1. การเรียนรู้สัญญาณ
2. การเรียนรู้สิ่งเร้า -การตอบสนอง
3. การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
4. การเชื่อมโยงทางภาษา
5. การเรียนรู้ความแตกต่าง
6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
7. การเรียนรู้กฎ
8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา

 (http://sites.google.com/site/pattyka034/naewkhid/naewkhid-keiyw-kab-kar-sxn)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเยว่า  กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  9  ประการ ได้แก่     
     1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
     2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
     3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
     4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
     5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
     6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
     7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
     8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
     9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
images.ase05.multiply.multiplycontent.com  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต
กาเย  (Robert  Gagne)  เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002)   ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition  of  Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยจัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง   กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง   ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน   กาเยจึงได้เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท   ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน


 สรุป  

       การเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเยว่า  กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  ได้แก่  เร่งเร้าความสนใจ     บอกวัตถุประสงค    ทบทวนความรู้เดิม
นำเสนอเนื้อหาใหม่   ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ จะมีความสอดคล้องกับการผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สัญญาณเป็การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่าง
อัตโนมัตการเรียนรู้สิ่งเร้า -การตอบสนอง การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง การเชื่อมโยงทางภาษา การเรียนรู้ความแตกต่าง  ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ผสมผสานกัน

            

เอกสารอ้างอิง

     

ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.images.ase05.multiply.multiplycontent.com   เข้าถึงเมื่อ 14กรกฎาคม 2555    
http://www.sites.google.com/site/pattyka034/naewkhid/naewkhid-keiyw-kab-kar-sxn  เข้าถึงเมื่อ 14กรกฎาคม 2555    

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น