วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตรรษที่20

1.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20


 

1.   ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง ( Mental Discipline) ทิศนา แขมมณี (2555:45)

          นักคิดกลุ่มนี้มีความคิดเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา ( mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้ฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น  2  กลุ่มย่อย คือ(Bigge,1964:  19-30)

     1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline )  นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ  เซนต์ออกุสติน  (St.  Augustine)  จอห์น คาลวิน  (John  Calvin) และคริสเตียน  โวล์ฟ (Christian  Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ  ดังนี้

       ก.   ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้

         1)  มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว  และการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง  ( bad-active)

         2)  มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม

         3)  สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ  (faculties)  ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง  สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้

        4)  การฝึกสมอง  หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด

        5)  การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด  ต้องใช้วิธีที่ยากเช่น  วิชา คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน  ภาษากรีก  และคัมภีร์ไบเบิล  เป็นต้น

        ข.  หลักการจัดการศึกษา/การสอน

         1)  การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด  เป็นสิ่งสำคัญในการ

ฝึกฝนให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี

         2)  การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด  เพื่อให้จิตเข้มแข็ง  การบังคับ  ลงโทษ

เป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง

         3)  การจัดให้ผู้เรียนเรียนเนื้อหาที่ยาก  ได้แก่  คณิตศาสตร์  ปรัชญา ภาษาลาติน

ภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมอง  ให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี

         4)  การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและยึดถือในพระเจ้าจะช่วยให้ผู้เรียน

เป็นคนดี

    1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline)

นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต ( Plato)  และอริสโตเติล ( Aristotlo)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้

       ก.  ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้

      1)  พัฒนาการในด้านต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์  มิใช่พระเจ้าบันดาล

ให้เกิด

      2)  มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว  และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรง

กระตุ้นภายใน ( neutral-active)

      3)  มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง  มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำ

ตามความเข้าใจและเหตุผลของตน  หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา

      4)  มนุษย์เป็นผู้มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด  แต่ถ้าขาด  การกระตุ้นความรู้จะไม่

แสดงออกมา

       ข.  หลักการจัดการศึกษา/การสอน

      1)  การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ  การกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้

แสดงออกมา

      2)  การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ  เคี่ยวเข็ญ  แต่ควรใช้เหตุผล 

เพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการใช้เหตุผล

      3)  การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส  (Socratic Method) คือการใช้คำถามเพื่อดึง

ความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด  เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

      4)  การใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ( Didactic  Method) คือการสอนที่ใช้คำถาม

ฟื้นความจำของนักเรียนแล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

          http://www.th.wikipedia.org/wiki/     ได้รวบรวมและกล่าวถึงแนวความคิดของ มาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับ รู้ (Perceive) สิ่ง ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ   (Accomodation)   ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้ ้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทำได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน   (intrinsic Motivation) นอกจากนั้นทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และการวางแผน ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับระดับของความคาดหวัง (Level of Aspiration) โดย ที่เขากล่าวว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะตั้ง ความคาดหวังของตนเองให้สูงขึ้น เมื่อเขาทำงานหนึ่งสำเร็จ และตรงกัน ข้ามคือจะตั้งความคาดหวังของตนเองต่ำลง เมื่อเขาทำงานหนึ่งแล้วล้มเหลว

 

        http://www.th.wikipedia.org/wiki/  (ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning ) ของ ไอวาน พาร์พลอฟ ( Ivan Pavlop ) พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรมหรือการตอบ สนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การทำงานของต่อมต่าง ๆในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response)   

  สรุป 

 นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งหลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

หนังสืออ้างอิง
 http://www.th.wikipedia.org/wik 
 บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต
 ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ ( Natural Unfoldment) ทิศนา แขมมณี (2555:47)

         นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ ( Rousseau) ฟรอเบล ( Froebel) และเพสตาลอสซี ( Pestalozzi ) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี

ก.  ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้

   1)  มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี  และการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระต้น

ภายในตัวมนุษย์เอง (good-active)

   2)  ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหาก

ได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้  มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ

   3)  รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก  ๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่ง

แตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาในเด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก

   4)  รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไป

ตามธรรมชาติคือ  การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  จากผลของการกระทำของตน  มิใช่การเรียนจากหนังสือ  หรือจากคำพูดบรรยาย

   5)  เพสตาลอสซี  มีคามเชื่อว่า  คนมีธรรมชาติปนใน 3 ลักษณะ คือ “คนสัตว์”

ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย  เป็นทาสของกิเลส  “คนสัตว์”  มีลักษณะที่เข้ากับสังคมคล้อยตามสังคมและ  “คนธรรม”  ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี  คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ  ดังกล่าว

   6)  เพสตาลอสซี  เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นเชื่อในการสอน  จะช่วยให้เด็กเรียนรู้

ได้ดี

   7)  ฟรอเบลเชื่อว่า  ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก  อายุ  3-5  ขวบ

โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

ข.  หลักการจัดการศึกษา/การสอน

  1)  การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ

  2)  การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง  ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจชองตน  เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ

  3)  ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก  คือ  การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ  และเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่

      3.1)  ให้เด็กเล่นอย่างอิสระ

      3.2)  ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง

      3.3)  ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง

      3.4)  ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน

   4)  การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

        บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:18)     กล่าวไว้ว่าแนวความคิดของ ดีนส์  (Diene's Theory of Mathematcs Learning) ส่วน มากเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ซึ่งมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับของเพีย เจต์ เช่น ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและกระตือรือร้นในกระบวนการเรียน รู้ให้มากที่สุด          

         บุญเลี้ยง ทุมทอง(2554:17)       กล่าวไว้ว่าทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแต่ต่างจากผู้ใหญ่และสิ่งที่มีความหมายมาก คือแนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากกิจกรรมการใช้สื่อรูปประธรรม (Ginsburj & Opper, 1969) หาก แนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียน ผู้สอนจะต้องเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้และแนะนำผู้เรียนมากกว่า เป็นผู้สอนโดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget's Theory of Intellectual Development)   

   สรุป  
                นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
       

อ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต

 

3.  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด ( Apperception) ทิศนา แขมมณี (2555:48)


 

นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ  จอห์น ล็อค (John  Locke)  วิลเฮล์ม วุนด์  (Wilhelm  Wundt)

ทิชเชเนอร์  (Titchener)  และแฮร์บาร์ต(Herbart)  มีความเชื่อดังนี้  (Bigge,1964:33-47)

ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้

  1)  มนุษย์เกิดมามีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้น

ภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม

  2)  จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่าการเรียนรู้

เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5

  3)  วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2  ส่วนคือ การสัมผัสทั้ง 5  และการรับรู้

  4)  ทิชเชเนอร์มีความเห็นว่ากับวุนด์  แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก  1  ส่วน 

ได้แก่  จินตนาการ  (imagination)  คือ  การคิดวิเคราะห์

  5)  แฮร์บาร์ต  เชื่อว่าการเรียนรู้มี  3  ระดับ  คือ  ขั้นการเรียนรู้โดยประสาท

สัมผัส  (sense  activity) ขั้นการจำความคิดเดิม  (memory  characterized)  และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual  thinking  or  understanding )

  6)  แฮร์บาร์ตเชื่อว่า  การสอนควรเริ่มจาการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน

เสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่

      ข  หลักการจัดการศึกษา / การสอน

   1)       การจัดการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง  5  เป็น

สิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

  2)      การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่  จะ

ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี การสอนโดยการดำเนินการ  5  ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว  ขั้นตอนดังกล่าวคือ

       3.1)  ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ  (preparation)  ได้แก่  การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม

       3.2)  ขั้นเสนอ (presentation)  ได้แก่  การนำเสนอความรู้ใหม่

       3.3)  ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparition   and  abstaraction)  ได้แก่  การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป  โดยสัมพันธ์กับความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วย

วิธีการต่าง ๆ

      3.4)  ขั้นสรุป  (generalization)  ได้แก่  การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่าง ๆที่สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่น ๆ ต่อไป

      3.5)  ขั้นประยุกต์ใช้  (application)  ได้แก่  การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม


 

        http://www.th.wikipedia.org/wiki/     ได้รวบรวมและกล่าวถึงฮาล (Clatk Hull) เป็นหนึ่งในหมู่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มลัทธิพฤติกรรมนิยม[Behavioralism]เช่นเดียวกับ โทลแมน และ สกินนเนอร์ (Guthric Tolman and Skinner) ซึ่งสนใจและศึกษาพฤติกรรมตามแนวความคิดของวัทสัน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ลดความสำคัญของคำว่า จิตใจและ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำๆ นี้โดยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมสังเกตได้ วัดได้ ทดลองและทำซ้ำได้ แสดงหรือพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นการศึกษาตามระเบียบวิธี การทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยเฉพาะฮาล ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีที่ชื่อว่า “Hypothetico-deductive or mathematico deductive” คือความคิดความเชื่อที่ว่าพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อมและเป็นไปตามสูตร ดังนี้ (Hull, 1994)sEr = sHr x D X K X V sEr = พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดตามแนวโน้ม S – R ซึ่งขึ้นอยู่กับนิสัยsHr = นิสัย (การกระทำ) เป็นการเสริมแรงตามหลักของจิตวิทยาS – R ประกอบด้วย D และ KD = แรงขับK = สิ่งล่อใจจากภายนอกV = อำนาจการเร้าของ K       

       http://www.th.wikipedia.org/wiki/     ได้รวบรวมและกล่าวถึงกัททรี (Edwin R.Guthrie) เป็น ผู้สนใจศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความคิดลัทธิพฤติกรรมนิยม และนิยมชมชอบคือ อธิบายพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เขาเชื่อว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขและความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้า (สภาวะแวดล้อมภายนอก) กับอินทรีย์ (สภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย หลักการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของกัททรี เมื่อสภาวะสมดุลในกระบวนการจูงใจ (Homeostasis) สูญ สิ้นไปอินทรีย์จะเริ่มสร้างแรงจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคย เรียนรู้มาแล้ว เช่น การเกิดพฤติกรรมใหม่แต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทแต่ละส่วน ที่กระตุ้น เช่นการกระพริบตาเมื่อถูกวางเงื่อนไขโดยการเป่าลมที่ตา ทุกครั้งที่ลูกโป่งสำหรับเป่าลมถูกยกมาบริเวณใกล้ตา ตาจะกระพริบทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำการเป่าลมออกมา         

  สรุป
             นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5   และ ความรู้สึก คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึง เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

หนังสืออ้างอิง 

http://www.th.wikpedia.rod/wiki/  เข้าถึงเมื่อ14กรกฎาคม 2555

ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น