วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ได้รวบรวมไว้ว่า  ทฤษฏีของธอร์นไดค์  เรียกว่าทฤษฏีการเชื่อมโยง (Connetionism  Theory) ทฤษฏีนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า  (Stimulus – S) กับการตอบสนอง (Response – R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า  “การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่ง  (Response – R)  โดยมีหลักเบื่องต้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ  จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี  หรือเหมาะสมที่สุด  เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด (Trial  and error) นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะกระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมากำหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว  การตอบสนองหลายรูปแบบจะหายไปเหลือเพียงการตอบสนองรูปแบบเดียวที่เหมาะสมที่สุด   และพยายามทำให้การตอบสนองเช่นนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่ต้องการให้เรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ
ทิศนา แขมมณี (2555:93)ได้รวบรวมไว้ว่าโจแนสเซน  (Jonassen,1992 -139)กล่าวย้ำว่า  ทฤษฎีการสร้างความรู้จะให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เขาเชื่อว่าคนทุกคนมีโลกของตัวเอง  ซึ่งเป็นโลกที่สร้างขึ้น ด้วยความคิดของตน  และคงไม่มีใครกล่าวได้ว่าโลกไหนจะเป็นจริงไปกว่ากัน  เพราะโลกของใครก็คงเป็นจริงสำหรับคนนั้น  ดังนั้น  โลกนี้จึงไม่มีความจริงเดียวที่จริงที่สุด  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ถือว่าสมองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้
 http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580   จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าสิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้
สรุป
        ทฤษฏีนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีหลักว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ  จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี  หรือเหมาะสมที่สุด  เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะกระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมากำหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ถือว่าสมองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้
หนังสืออ้างอิง             
www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Connectionism_Theory.htm  ข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2555
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580  เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น