วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (cognitivism)

2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (cognitivism)

www.learners.in.th/blog/edt047-1/322492  ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt Theory) กลุ่ม เกสตัลท์นี้เริ่มก่อตั้งในประเทศเยอรมันนี ราวปี ค.ศ. 1912 ในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมกำลังแพร่หลาย ได้รับความนิยมอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา หมายของทฤษฎีนี้ หมายถึง ส่วนรวม หรือ ส่วนประกอบทั้งหมด สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะความคิดหลักของกลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีย่อมเกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่างๆ มารวมกัน  ให้เกิดการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนและจึงแยกวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป   ถ้า มนุษย์หรือสัตว์มองภาพพจน์ของสิ่งเร้าไม่เห็นโดยส่วนรวมแล้ว จะไม่เข้าใจหรือเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงกฎการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ สรุปได้ดังนี้      
       1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์      
       2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย      
       3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ                    
                3.1) การรับรู้ (perception) การ รับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่ สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบ สนองออกไปตามที่สมอง / จิต ตีความหมาย
                3.2) การหยั่งเห็น (Insight) เป็น การค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น
      4 . กฎการจัดระเบียบการรับรู้  ของเกสตัลท์มีดังนี้                   
               4.1) กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์ เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้เพราะการใช้ ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
                4.2) กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
                4.3) กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกั
                4.4) กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น
               4.5) กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุผลเดียวกัน             
               4.6) บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นใน ลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะเปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น เช่น เมื่อเห็นปากขวดกลม เรามักจะเห็นว่ามันกลมเสมอ ถึงแม้ว่าในการมองบางมุมภาพที่เห็นจะเป็นรูปวงรีก็ตาม    

 
ทิศนา แขมมณี (2555:62)ทฤษฎีสนาม (Fieid  Theory) ได้กล่าวไว้ว่า

          เคิร์ท เลวิน (Kurt  Lewin)  เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีนี้ คำว่า “field” มา จากแนวคิดเรื่อง “field  of  force”
      ทฤษฎีการเรียนรู้
1)   พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง  สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจ และความต้องการของตนจะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจ  จะมีพลังงานเป็นในขณะใดขณะหนึ่งคน ทุกคนจะมี  “โลก” หรือ “อากาศชีวิต” (life  space) ของตน ซึ่งจะประกอบไปด้วย สิ่ง  แวดล้อมทางกายภาพ(physical  environment )อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่ง
      แวดล้อมอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาได้แก่  แรงขับ  แรงจูงใจ
 2)  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ

 
www.oknation.net/blog/print.php?id=132949  ได้รวบรวมทฤษฎีเครื่องหมายทอลแมน(Tolman)กล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมาย เป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง” ทฤษฎีของทอลแมนสรุปได้ดังนี้
     ทฤษฎีการเรียนรู้
       1) ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล (reward expentancy) หากรางวัลที่คาดว่าจะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายามแสวงหารางวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป
       2)ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ (place learning) และสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย
        3)ผู้ เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำ
ซ้ำ ๆ ในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของตน
       4)การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที  อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม หรือจำเป็นจึงจะแสดงออก (latent learning)

 สรุป 

      ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม คือ การเรียนเป็นกระบวนการของสิ่งเร้าต่างๆ มารวมกันให้เกิดการ
รับรู้  โดยรวมก่อนจึงแยกวิเคราะห์เช่น   เช่น  การรับรู้  การรับเป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสต่อสิ่งเร้าและถ่ายโยงเข้าสู่สมอง  บุคคลเรียนรู้จากสิ่งเร้า ทำให้เกิดการรับรู้ กฎการจัดระเบียบการสอนบุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นใน ลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะเปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่นผู้ เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

อ้างอิง

www.learners.in.th/blog/edt047-1/322492   เข้าถึงเมื่อวันที่  14 กรกฎาคม 255
 ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  www.oknation.net/blog/print.php?id=132949  เข้าถึงเมื่อวันที่ 15กรกฎาคม  2555      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น