วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
          http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com/  กล่าวว่า สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอนจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่างๆ แล้วในปัจจุบัน
       http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

     น้ำทิพย์  วิภาวิน ได้กล่าวไว้ว่า  สื่อหลายมิติ คือการเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
            ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
     1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
     2.ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
        2.1 ดูแผนภาพหรือภาพวาด
         2.2 ดูภาพถ่ายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
         2.3 ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
     3.ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
     4.ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)ของตน เพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
     5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
     6.ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป 
สรุป
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ  สื่อหลายมิติที่ใช้กับการเรียนการสอนจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูลสามารถที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดและสื่อหลายมิติยังเป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆ  และผู้เรียนยังสามารถบทเรียนได้มากมาย  เช่น    เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที   ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน  ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)ของตน เพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น และอีกอื่นๆ

  
หนังสืออ้างอิง
น้ำทิพย์  วิภาวิน. http://images.minint.multiply.multiplycontent.com. ประเภทของสื่อการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2555
 (ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com เข้าถึงเมื่อ  20สิงหาคม 2555
  (ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712  เข้าถึงเมื่อ  20สิงหาคม 2555

สื่อประสม
         กิดานันท์  มลิทอง กล่าวว่า  สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูลของตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์ และเสียง
        สมสิทธิ จิตรสถาพร (2547) ที่กล่าวเสริมว่า สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และ วิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อ แต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์และเสียง

       อีริคสัน (http://yupapornintreewon017.page) แสดงความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสิ่งหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความสนใจที่ลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น


สรุป
สื่อประสม คือ การที่นำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อ แต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา    ในปัจจุบันเรามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์และเสียงเพื่อให้การสอนประสบความสำเร็จและยังช่วยให้ผู้เรียนสนใจในเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ทันสมัยทำให้ช่วยในการเรียนการสอนได้มากขึ้น
หนังสืออ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
 สมสิทธิ จิตรสถาพร. (2547). สื่อการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, ภาควิชาเทคโนโลยีการการศึกษา.
อีริคสัน.(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์: http://yupapornintreewon017.page เข้าถึง เมื่อ 12  สิงหาคม 2555.


7 . สื่อการสอน (Teaching)
      กิดานันท์ มลิทอง (2549: 100) ได้ให้ความหมายคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่าระหว่าง(between) สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่ง หรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ 
     ไชยยศ เรืองสุวรรณ  ได้กล่าวว่า  สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกัน ซึ่งสื่อการสอนมีความสำคัญ คือ
           1. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
           2. ช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย
           3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองตามความคาดหวังที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
           4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
            5. ช่วยสอนสิ่งที่อยู่ในที่ลี้ลับ ไม่สามารถนำมาให้ดูโดยตรงได้ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนแสดงการทำงานของอะตอม
            6. ช่วยในการวินิจฉัย หรือการซ่อมเสริมผู้เรียนได้ 

    เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต  ได้กล่าวว่า  สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นสื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงเปรียบเสมือนมือไม้ของครูที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
สรูป  
สื่อการสอน คือ  เครื่องมือของผู้สอนที่ขาดไม่ได้ที่ต้องจำเป็นต้องใช้ในการสอน  สิ่งใดที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่ง หรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และยังสามารถการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้ได้เข้าใจมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมาย ซึ่งสื่อการสอนมีความสำคัญและตัวกลางที่จะถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน จะใช้ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้สอนจะเน้นให้มีการส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

หนังสืออ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง.(2549).เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ 2
ไชยยศ เรืองสุวรรณ.  http://www.moe.go.th/wijai/techno.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต.http://us.geocities.com/inno41/btsrbkchs.htmเข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555
6.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในด้านการศีกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร    
    http://th.wikipedia.org/wiki/  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
  ฉัตรชัย http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346 กล่าวว่าเรืองมณีการเรียนการสอนในปัจจุบันเราจัดในห้องเรียนมีครู-อาจารย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่แนวโน้มของการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็นทำเป็น(Constructive) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้(Knowledge Body)ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ ที่แตกต่างกันของบุคคล(Individualdifferent)ครูจะกลายมามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือแนะนำ(Facilitator) ในการเรียนการสอน ดังนั้นด้วยในคุณสมบัติที่ดีของศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถสร้างห้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Classroom) และการจัดการศึกษาแบบe-Educationซึ่งสามารถออกแบบ หลักสูตร,เนื้อหา,กระบวนการเรียนการสอนและบทเรียนที่บรรจุข้อมูล ทั้งตัวอักษรและรูปภาพให้ผู้เรียนลงทะเบียนเข้ามาศึกษาได้และ สามารถประเมินผลได้ด้วยตนเองหลังจากเรียนจบแต่ละหน่วย การเรียนและยังจะมีโอกาสฝึกฝนจนรู้จริงซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ บทเรียนโดยนักออกแบบการเรียนการสอน(InstructionalDesigner) ซึ่งจะเป็นครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในยุคอนาคตที่สามารถจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบe-Learningนั่นเอง
   http://blog.eduzones.com/moobo/78858 ได้รวบรวมว่า การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3. เพื่อการสาธิต
4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว



  สรุป 
      เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการศึกษามาก        เป็นเครื่องมือที่ช่วย และเป็นเครื่องมือสนับสนุนที่ต้องจัดหา และนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามลักษณะการศึกษา เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการก้าวหน้า โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งมีสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างมาก   คือ  เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการการติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญและ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลทั้งหมดล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
หนังสืออ้างอิง
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง[ออนไลน์].http://th.wikipedia.org/wiki/.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวัน ที่ 9 สิงหาคม 2555.
(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://blog.eduzones.com/moobo/78858 เข้าถึงเมื่อ8 สิงหาคม 2555 .