วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)

      3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)
Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส(Rogers,1969)มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้(supportive atmosphere)และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(student-centered teaching)โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ(non-directive)และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(facilitator) และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ(process learning)เป็นสำคัญ
Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)
    1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    2. การ เรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
    3. มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
    4. มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
     5. มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น
             ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์(Maslow,1962)ได้กล่าวไว้ว่า ทิศนา แขมมณี (2555:69)
  1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ขั้นความต้องการความรัก ขั้นความต้องการยอมรับและการยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่
  2) มนุษย์มีความต้องการที่รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองประสบการณ์ที่เรียกว่า “peak experience” เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง มีลักษณะน่าตื่นเต้น  เป็นความรู้สึกปีติ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้

 

สรุป 

      ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม คือการที่มนุษย์เรียนรู้ในสภาพการณ์ที่เป็นอิสระในการที่จะมีประสบการณ์ที่เขาได้ผ่านมามนุษย์จะพอใจมีตัดสินใจเลือกมากมาย  คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจ  ความมั่นคงปลอดภัยให้กับตนเอง  นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า  มนุษย์ควรได้รับความช่วย เหลือจากทุกคนในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้  หรือ การมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด  เจตคติ  จุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง เพื่อให้มนุษย์มีการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

 ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dr.Surin.[ออนไลน์]:http://surinx.blogspot.com/, เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น