วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavism)


1.2 ทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่20

 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavism)

 http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories 

       ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas)และ การตอบสนอง (Response) โดย อินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า
และ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ
กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)          
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้
คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น
 คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าว ได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
  - สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
  - สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ
  - สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูก  วางเงื่อนไขแล้ว
             การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ    การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจาก   การเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
  - การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
  - การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
  - การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลัง จากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

 

ทิศนา แขมมณี (2555:55)  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง(Contiguous  Conditioning)ของกัทธรี
              ได้กล่าวไว้ว่ากัทธรี(Guthrie  ค.ศ.  1886 - 1959)  ได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา  มีเสาเล็ก ๆ ตรงกลาง  มีกระจกที่ประตูทางออกมีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง  เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู   แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบเพื่อจะออกจากกล่อง แมวบางตัวใช้วิธีเดียวกัน  กัทธรีอธิบายว่า  แมวใช้การกระทำครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนยึดไว้สำหรับการแก้ปัญหาครั้งต่อไป  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก  กฎการเรียนรู้ของกัทธรี สรุปได้ดังนี้

        ทฤษฎีการเรียนรู้

1.  กฎแห่งความต่อเนื่อง
เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น 
2.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว
เมื่อมีสภาวะสิ่งเร้ามากระต้น  อินทรีย์จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกมา  ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว
     3.  กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย  หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว  ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง  บุคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ตาม
     4.  หลักการจูงใจ  การเรียนรู้เกิดจากการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง

 http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580 จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) 
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าสิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้


 

 สรุป    

        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) หมาย ถึง การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ที่สิ่งเร้าเป็นกลางที่ทำให้มนุษย์มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาส่งผลให้   
มีพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าการเรียนรู้การมีประสบการณ์ที่ศึกษาหรืการที่อยู่ในสภาวะสิ่งเร้ามากระตุ้น  ทำให้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมทำให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ เห็นได้ชัด
ดังนั้นเมื่อการที่เราวางเงื่อนไขหรือมีตัวมากระตุ้นจะทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้น 

 

อ้างอิง             

 

เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม  255
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580  เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม  2555

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น