วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
          
  http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ด้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
  http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
 
ทิศนา แขมมณี (2555:99)ได้รวบรวมไว้ว่าองค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
         การเรียนแบบร่วมมือไม่ได้มีความหมายเพียงว่า  มีการจัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วให้งานและบอกผู้เรียนให้ช่วยกันทำงานเท่านั้น  การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้  ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ  5 ประการดังนี้  (Johnson  and  Johnson,  1994:31-37)
  1. การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน  กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ  จะต้องมีความตระหนักว่า  สมาชิกกลุ่มทุกคนมีความสำคัญ และความสำเร็จของกลุ่มขึ้นกับสมาชิกในกลุ่ม
  2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด เป็นปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย  สมาชิกในกลุ่มจะห่วงใย  ไว้วางใจ  ส่งเสริม และช่วยเหลือกันและกันในการทำงานต่าง ๆร่วมกัน
  3. วามรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน  สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ  และพยายามทำงานที่ได้รับหมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
  4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  การเรียนรู้แบบร่วมมือประสบความสำเร็จได้  ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญ ๆหลายประการ  เช่น  ทักษะทางสังคม  ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม  กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของ กลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น  การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มครอบคลุมการวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการทำงานของกลุ่ม

สรุป
       การร่วมมือคือการที่สมาชิกทุกคนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการช่วยกันในการเรียนรู้ช่วยกันในการเรียนรู้
1 .มีการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน  2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน 3. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน  สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  การเรียนรู้แบบร่วมมือประสบความสำเร็จได้  ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญ  5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม  กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของ กลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น  การวิเคราะห์กระบวนกา

   หนังสืออ้างอิง             
ทิศนา  แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm.htm    เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม  2555
 

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น