วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

8 . ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption


8 . ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption

    http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล

    http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm ได้รวบรวมไว้ว่าข้อตกลงเบื้องต้น (assumptions)  เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า “คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง” เป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริง แล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์

     www.crc.ac.th/e-filing/forms/thesis/chapter2.doc ได้รวบรวมไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรับล่วงหน้า โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์และเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ ฯลฯ  ตัวอย่างข้อตกลงเบื้องต้นจากเรื่อง “การสร้างแบบสำรวจวิจัยและทัศนคติในการเรียน  กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสำรวจด้วยความจริงใจ   คะแนนที่ได้จากการตอบแบบสำรวจในเวลาที่ต่างกันไม่ทำให้คะแนนแตกต่างกัน

สรุป

    ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไรของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรับล่วงหน้า โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์และเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ

อ้างอิง

 http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.htmlข้าถึง เมื่อ 7 มกราคม 2556 

 http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556

 http://www.crc.ac.th/e-filing/forms/thesis/chapter2.doc เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น