วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

7. กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)


7. กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
      http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399800 ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า การเขียนกรอบความคิดการวิจัย(Conceptual Framework)  การเขียนกรอบความคิดการวิจัย เป็นเรื่องยุ่งยากและเป็นปัญหามากสำหรับนักวิจัยมือใหม่ เพราะจะเกิดความสับสน แม้ว่าจะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้วก็ตาม เพราะในงานวิจัยแต่ละเล่มก็จะเขียนกรอบความคิดการวิจัยไว้หลากหลายรูปแบบ วันนี้จึงได้รวบรวมหลักการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยที่ผู้ทรงคุณวุฒด้านนี้ท่านได้เขียนไว้มาฝาก จะได้เขียนกรอบความคิดการวิจัยได้อย่างมั่นใจ 
       กรอบความคิดการวิจัย(Conceptual Framework)  มีการใช้คำกันอยู่หลายคำ เช่น กรอบแนวคิด(บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2549, หน้า 39) กรอบความคิดในการวิจัย(สุวิมล  ว่องวาณิช,2551 หน้า 1, สุวิมล ติรกานันท์, 2546, หน้า 35)กรอบแนวคิดในการวิจัย(วรรณี แกมเกตุ, 2551, หน้า 67) กรอบความคิดการวิจัย (รัตนะ  บัวสนธ์, 2552, หน้า 79)
      http://blog.eduzones.com/jipatar/85921ได้รวบรวมไว้ว่า นอก จากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบ แนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง             
    รัตนะ  บัวสนธ์(2552: 79) ได้กล่าวไว้ว่า กรอบความคิดการวิจัยนั้น ก็คือ กรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นๆนั่นเอง กล่าวคือ ในขณะที่กรอบเชิงทฤษฎีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัย หรือความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัจจัย หรือตัวแปรตาม หรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรที่กล่าวนี้มาจากทฤษฎีแนวคิดและผลงานวิจัยต่างๆ แต่เมื่อจะดำเนินงานวิจัยนักวิจัยได้ปรับลดตัวแปรบางตัวลง หรือทำให้ตัวแปรบางตัวคงที่ แล้วปรับกรอบเชิงทฤษฎีใหม่ จะได้เป็นกรอบความคิดการวิจัยเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นเท่านั้น หากเปลี่ยนเรื่องดำเนินการวิจัยใหม่ โดยใช้กรอบเชิงทฤษฎีอื่นก็ต้องสร้างกรอบความคิดการวิจัยใหม่อีกเช่นกัน

   สรุป     
     กรอบความคิดการวิจัยเป็นการระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆและ  กรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้น กล่าวคือ ในขณะที่กรอบเชิงทฤษฎีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัย หรือความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัจจัย หรือตัวแปรตาม หรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรที่กล่าวนี้มาจากทฤษฎีแนวคิดและผลงานวิจัยต่างๆ            
อ้างอิง 
 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399800 เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม   2556
 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556
รัตนะ บัวสนธ์.(2552). ปรัชญาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น