วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย
      มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) ได้กล่าวไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา
      จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
       http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ขอบเขตในการวิจัย  ได้แก่
  1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
    1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
      ลักษณะของประชากร
      จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
    1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
      ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
      วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
    1.3  ตัวแปรที่ศึกษา
      1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
      1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
  2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
      ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
      ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

  สรุป 
    ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัย  ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนดขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง) ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้  
  อ้างอิง
 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์.(2545).สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
 จำเรียง กูรมะสุวรรณ.(2552).สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1   เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2556



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น