วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

4. คำถามของงานวิจัย ( Research Question (s))

       http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวไว้ว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และ ให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
        คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือ สัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีก จำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
      อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553, หน้า 7) ได้กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้อง การทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร ตัวอย่างเช่น
   -หัวข้อวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของอะไร และประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง
   -ความเป็นมาของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
  -เรื่องนี้สามารถจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในประเภทใด
  -เรื่องนี้มีอะไรดี สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง
     เมื่อรวบรวมคำถามที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจัดกลุ่มของคำถาม และมุ่งความสนใจไปยังคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไม หรืออย่างไร และพิจารณาว่าคำถามไหนที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบที่สุด คำถามนั้นจะเป็นคำถามสำหรับงานวิจัยของผู้วิจัย
      http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=89 ได้กล่าว ไว้ว่า  การสร้างคำถามวิจัย ถือเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างงานวิจัย และอาจกล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการกำหนดคำถามวิจัยที่ชัดเจนและดี ทำให้นักวิจัยสามารถกำหนดรูปแบบ วิธีการวิจัย อาจทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากร และดำเนินการวิจัยได้เหมาะสมและตรงประเด็นและเสร็จตามกำหนดระยะเวลา และสามารถสรุปและนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงนโยบาย และเชิงวัฒนธรรมหรือสังคมต่อไป

สรุป
    คำถามของงานวิจัย  คือ  การสร้างคำถามวิจัย ถือเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างงานวิจัย และอาจกล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการกำหนดคำถามวิจัยที่ชัดเจนและดี ทำให้นักวิจัยสามารถกำหนดรูปแบบ วิธีการวิจัย อาจทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากร และดำเนินการวิจัยได้เหมาะสมและตรงประเด็นและเสร็จตามกำหนดระยะเวลา และสามารถสรุปและนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือ สัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีก จำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร

อ้างอิง 
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2555
http://www.gotoknow.org/posts/399427 สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน2555
http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=89  สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น