วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

โภชนาการอาหารสำหรับผิวพรรณ

  • ผิวหนัง ถือว่าเป็นอวัยวะที่เป็นเกราะกำบังสำหรับร่างกาย ต่อการป้องกันจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมจากสิ่งแวดล้อม นอ�
  • ��จากนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย สร้างวิตามินดี ป้องกันการสูญเสียน้ำ รับรู้ความรู้สึก และขจัดของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่อ เป็นต้น
  • ผิวหนังที่เสื่อมก่อนวัย หรือริ้วรอย ตีนกา ที่เริ่มมีมาก่อนกำหนด หรือดูแล้วทรุดโทรมมากกว่าอายุปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก
    1. แสงแดด ทั้งรังสียูวีเอ ที่ทำลายโครงสร้างของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น รังสียูวีบีที่ทำให้เกิดผิวหนังดำคล้ำ หรือทำให้เซลล์ผิวหนังเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง ดังนั้นจึงต้องป้องกันด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF (สำหรับป้องกันรังสียูวีบี) และค่า PA (สำหรับป้องกันรังสียูวีเอ) ที่เพียงพอและทาเป็นประจำ
    2. อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกริยาออกซิเดชั่น จึงได้มีการคิดค้นสารที่เป็น Antioxiants ที่จะจำกัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ ทั้งในรูปของครีมบำรุงผิว และ ในรูปของอาหารเสริม เช่น กลุ่ม Glutathione peroxides,Selenium,Viamin C, Vitamin E, Vitamin A , Beta carotene , Coenzyme Q10 (ซึ่งได้เขียนบทความโดยละเอียดไว้แล้วที่นี่http://www.clinicneo.co.th/column/col.php?cid=129)
    3. สิ่งแวดล้อม มลพิษ เขม่าควันต่างๆ
    4. การได้รับสารอาหารสำหรับผิวพรรณไม่เพียงพอ
  • โภชนาการเสริมสร้างสุขภาพผิว ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพที่ดี สารอาหารที่สำคัญและควรใส่ใจในการเลือกบริโภคที่สำคัญ มีดังนี้
    1. Vitamin C เป็นสาร Antioxidantsที่พบมากที่สุดในผิวหนัง ทำหน้าที่ลดอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่น และมีความจำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นหนังแท้ ใช้ป้องกันและรักษาเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ ลดรอยหมองคล้ำ ฝ้า กระ รอยด่างดำตามร่างกาย
    อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว ฝรั่ง มะขาม มะละกอสุก แคนตาลูป มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ดอกกระหล่ำเป็นต้น ซึ่งหากรับประทานอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ อาจจะรับประทานวิตามินซีสังเคราะห์วันละ 500-100 มก.ก็เพียงพอ เพราะหากรับประทานในปริมาณสูงกว่านี้ อาจทำให้ระดับ oxalate ในปัสสาวะสูง เกิดนิ่วในไตได้
    2. Vitamin E เป็นสาร Antioxidants ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันเนื้อเยี่อจากการถูกเอนไซม์ทำลาย ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวพรรณ ป้องกันและลดอันตรายจากแสงแดด และลดการเกิดเซลล์มะเร็งได้ ลดความเสื่อมของผิวหนังที่ทำให้เกิดริ้วรอย
    อาหารที่มีวิตามินอีสูง ได้แก่ น้ำมันพืชประเภทน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันรำข้าว งา น้ำมันสลัด ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว ซึ่งหากรับประทานอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ อาจจะรับประทานวิตามินอีในรูปอาหารเสริม วันละ 400 มก.ก็เพียงพอ
    3. Vitamin A โดยใช้สารตั้งต้นที่ชื่อ เบต้าแคโรทีน และสารแคโรทีนอยด์ แล้วร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มเรตินอล (Retinol) ซึ่งปัจจุบันได้มีการคิดค้นเกี่ยวกับสารสังเคราะห์สำหรับผิวพรรณที่เรียกว่า กลุ่มเรตินอยด์ ทั้งในรูปของครีมทา และยารับประทาน ( ซึ่งนำมารักษาสิว ริ้วรอยนั่นเอง) เลียนแบบวิตามินเอ ( เรตินอล) จากธรรมชาติ เพราะมีรายงานมากมายที่สนับสนุนว่า วิตามินเอ ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อ ของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอผิวเสื่อม ริ้วรอยย่นก่อนวัย
    อาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ อาหารจากผลิตภัณฑ์สัตว์ ตับ น้ำมันตับปลา ไข่ นม ผักผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป กล้วยไข่ ลูกท้อแห้ง เป็นต้น ร่างกายปกติ ต้องการวิตามินเอ ประมาณ 1000 ไมโครกรัมต่อวัน ( ในรูปของ Retinol)
    4. ซีลีเนียม ( Selenium) ถือเป็นสารที่สำคัญที่ทำงานร่วมกับวิตามินอี ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความยืดหยุ่นแก่ผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง ผิวหนังจากแสงแดด การทาครีมที่ผสมซิลีเนียม จะทำให้ลดอาการแดดเผา ผิวหนังอักเสบได้ และป้องกันมะเร็ง
    ยังไม่มีรายงานการขาดสารซิลีเนียมในคนแล้วเกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารที่มีซิลีเนียม ส่วนใหญ่ร่างกายจะได้รับเพียงพอ เพราะต้องการเพียงปริมาณไม่มากนัก อาหารเหล่านี้ได้แก่ อาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ กระเทียม ไข่ เมล็ดพืชต่างๆ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรับประทานเป็นอาหารเสริม เพราะอาจจะมีปริมาณสูงเกินไป ส่วนใหญ่จะนำมาผสมในครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด
    5. ไบโอติน สารอาหารที่อยู่ในตระกูลวิตามินบี เป็นสารที่มีประโยชน์ในเรื่องการเผาผลาญ และปรับสมดุลของการไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต การขาดวิตามินนี้ จะทำให้ผิวแห้ง เบื่ออาหาร เส้นผมและเล็บเปราะหักง่าย ผมงอกช้า
    อาหารที่มีไบโอตินสูง ได้แก่ ขนมปัง ธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ อาหารโปรตีนสูง ไข่แดง ตับ บรูเวอร์ยีสต์ ข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่างๆ ปกติร่างกายของเราจะได้รับสาร ไบโอติน ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ แต่โชคดีที่ภายในร่างกายมี แบคทีเรียที่ชื่อ Lactobacillin ในลำไส้ ที่สามารถผลิตสารไบโอตินได้ แต่ถ้าต้องการรับประทานเป็นอาหารเสริม ปริมาณที่เหมาะสมคือ วันละ 600-1,200 มก.
    6. สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์กว่า 70 ชนิด ทั้งที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการดูดซึมของกรอไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามินเอ ได้ดีขึ้น มีความสำคัญในการรักษาแผลหรือสมานแผล
    อาหารที่มีสังกะสีสูง ได้แก่ หอยนางรม อาหารทะเล ตับ ชีส เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ นม รวมทั้งธัญพืชที่ไม่ได้ขัด ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง และถั่วเปลือกแข็ง ร่างกายต้องการสังกะสี ในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละเพศ วัย และภาวะของร่างกาย แต่โดยเฉลี่ยไม่ควรเกินวันละ 15-30 มก.
    7. Coenyme Q10( Uniquinone) เป็นสารAntioxidants ที่ค้นพบมานานแล้ว โดยพบมากที่อวัยวะที่มีการ metabolism สูง เช่น หัวใจ ไต และตับ โดยทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงาน สำหรับผิวหนัง CoQ10 จะพบมากในชั้น epidermis มากกว่า dermis มีสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ( free radicles) จึงเชื่อว่า สามารถลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ ปัจจุบัน ได้นำมาทำเป็นครีมทาเฉพาะที่ เพื่อลดริ้วรอย โดยเฉพาะรอยดวงตา
  • การเลือกสารอาหารที่มีวิตามินและอาหารผิว ตามบทความข้างต้นนี้ ทำให้ท่านสามารถบำรุงผิวพรรณได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องสรรหาจากท้องตลาด ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการกล่าวถึงอาหารผิว และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงผิวพรรณ มากมาย หลายยี่ห้อ ราคาก็แตกต่างกันมากมาย พร้อมบรรยายสรรพคุณชวนให้เสียเงินได้ง่ายๆ หรือถ้าจะเลือกก็พิจารณาเลือกอย่างเหมาะสม และในปริมาณที่เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อสุขภาพของกระเป๋าสตางค์ท่านเช่นกัน 
  • วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

    22.ภาคผนวก (Appendix)


    22.ภาคผนวก (Appendix)
         เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง
         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  สิ่ง ที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก  ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
        http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
    ภาค ผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น
         สรุป   
        ภาคผนวก คือ เป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น
       อ้างอิง 
      http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556
    http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2556
    เรืองอุไร ศรีนิลทา.(2535).ระเบียบวิธีวิจัย.กรุงเทพฯ:สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัย.

    21. เอกสารอ้างอิง (References)


    21. เอกสารอ้างอิง (References)
            http://blog.eduzones.com/jipatar/8592    ได้รวบรวมไว้ว่าเอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
          พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 389) ได้กล่าวไว้ว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น
           http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
    ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
    การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"
    ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al
     สรุป  

         เอกสารอ้างอิง  หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้นว่า วัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจและติดตามเพิ่มเติมศึกษาได้
       อ้างอิง
    http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่  มกราคม  2556  
    พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์:กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
    http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556


    20.งบประมาณ (Budget)


    20.งบประมาณ (Budget)
          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
                    1 . เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
                    2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
                    3 . ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                    4 .ค่าครุภัณฑ์
                    5 . ค่าประมวลผลข้อมูล
                    6 . ค่าพิมพ์รายงาน
                    7 .ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
    โครงการแล้ว
                    8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
             อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณ แตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการ ขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
         สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539, หน้า 201 249 )  ได้กล่าวไว้ว่า คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี  5 ปี  หรือ 10  ปี  หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น  เช่น  งบประมาณรายเดือน 3 เดือน  6  เดือน  หรือ 1 ปี  
        อรชร  โพธิ ( 2545, หน้า 157210 ) ได้กล่าวไว้ว่า  งบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนิน ธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ    การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ
                    
    สรุป  
         งบประมาณ คือ การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวดงบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนิน ธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ  
    เอกสารอ้างอิง
    http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่  9  มกราคม  2556  
    สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2539).การบัญชีต้นทุนแนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงการบริหาร.กรุงเทพฯ:สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
    อรชร  โพธิสุข และคณะ.(2545).เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

    19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)


    19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)
          เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
    1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
    2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
    3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
    4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
                5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง  
          http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
    การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)
    ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสริจสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
        1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
        2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
               - ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
              - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
              - ติดต่อผู้นำชุมชน
              - การเตรียมชุมชน
              - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
              - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
              - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
              - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
              - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
             - ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
             - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
             - ขั้นการเขียนรายงาน

        3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
        4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
    สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
            ก. การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
           ข. การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
           ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart) เช่น
           ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา
           จ. การนิเทศงาน (Supervising) ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมงาน ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

         ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) ได้กล่าวไว้ว่า  การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
    1.วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
    2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                    2.1 ขั้นเตรียมการ
                                    - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                                    - ติดต่อผู้นำชุมชน
                                    - การเตรียมชุมชน
                                    - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                                    - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                                    - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                                    - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                                    - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                    2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                                    - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                                    - ขั้นการเขียนรายงาน
    3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
    4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
                    ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
                    ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
                    ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็น แผนภูมิเคลื่อนที่
                    ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละ กิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของ แต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
                    จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
      สรุป
         การบริหารงานวิจัยงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน
      อ้างอิง     
     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2556                                                                                     
     เสนาะ ติเยาว์.(2554 ).หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
     ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2542). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.กรุงเทพฯ:เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.



    18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


    18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

        สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) ได้กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
             1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351, 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
             2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
             3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
             4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
             5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
               แนวทางการแก้ไข
                     1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
                    2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                    3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
                    4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
                    5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
          ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2531:8)ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
               แนวทางการแก้ไข
                   นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
          สุวิมล ว่องวาณิช(2544) ได้กล่าวไว้ว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
               แนวทางการแก้ไข
                     อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว

       สรุป 
          อุปสรรคในการวิจัยคือประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย หรือ1.ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ 2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการ
    วิจัย3.มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย  4.นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย 5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
       
     อ้างอิง
    สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.
     บพิธการพิมพ์:กรุงเทพฯ
    ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.กรุงเทพฯ:หอสมุดกลาง.
    สุวิมล ว่องวาณิช.(2544).การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.กรุงเทพฯ:อักษรไทย.



    17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected benefits & Application)


    17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected benefits & Application)
               http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application)  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
              http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เป็นการย้ำถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง     
             พจน์ สะเพียรชัย (2516) ได้กล่าวไว้ว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
            สรุป 
        ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
       อ้างอิง
    http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม  2556   
    http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556  
     พจน์ สะเพียรชัย.(2516).หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา.วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร:กรุงเทพฯ.




    16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


    16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย
          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) ได้กล่าวไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา
          จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย
           http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ขอบเขตในการวิจัย  ได้แก่
      1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
        1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
          ลักษณะของประชากร
          จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
        1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
          ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
          วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
        1.3  ตัวแปรที่ศึกษา
          1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
          1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
      2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
          ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
          ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

      สรุป 
        ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัย  ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนดขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง) ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้  
      อ้างอิง
     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์.(2545).สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
     จำเรียง กูรมะสุวรรณ.(2552).สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
    http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1   เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2556



    15 . ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)


    15 . ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)
         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations) ในการ วิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
    การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้     1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
        2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
        3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
        4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถ อธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
        5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
            ก. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้
            ข. อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
            ค. ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
            ง. ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
        6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
        7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
        8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
    โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ
        http://www.google.com/urlsa=D&q=http://www.stc.arts.chula.ac.th/researchethics_chaichana.doc&usg=AFQjCNEvc8kltO8cVbOoT2eK-QJLoLYgOg  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การ ทำผิดพลาดทางจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยนั้น ส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่าที่จะเกิดจากเจตนาไม่ดี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ การไม่ตระหนักว่านอกเหนือจากปัญหาสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องสิทธิก็ สำคัญ เราเคยชินกับการให้การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งในประเด็นนี้ บางกรณีเจตนาที่ดี ความเมตตากรุณาที่มีต่อผู้ป่วยอาจอยู่เหนือสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีของการวิจัยนั้นสิทธิของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการวิจัยใดก็ตามต้องถือว่าไม่ใช่การรักษา เพราะฉะนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าหรือไม่เข้าร่วม ร่วมมือหรือถอนตัวได้ตลอดเวลา
    ความ ไม่รู้ที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งก็คือ หลักจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางประเด็นได้รับความสำคัญน้อย เช่น การเคารพศักดิ์ศรีของผู้เข้าร่วมวิจัย (Respect for person) ซึ่งแสดงออกทางหนึ่งจากการยินยอมตามที่ได้บอกกล่าว (Informed consent) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เข้าร่วมวิจัยจากความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมวิจัย
      องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า  จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย   ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
            1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
            2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
            3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

    สรุป 
        ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations) ในการ วิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลองค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่าที่จะเกิดจากเจตนาไม่ดี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ การไม่ตระหนักว่านอกเหนือจากปัญหาสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องสิทธิก็สำคัญ เราเคยชินกับการให้การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์
    อ้างอิง
     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556 
    องอาจ นัยพัฒน์.(2548).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:สามลดา.

    14 . การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

    14 . การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) การ เลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
          1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitaive data) หรือข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data)
          2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน
         3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล

         4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data) ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ (non-complier) ผู้ป่วยออกจากการศึกษากลางคัน หรือผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับโรคที่กำลังทำวิจัย กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง เตรียมการแก้ไข ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะตัดทิ้งไป หรือนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
         5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง
        สุภาพ วาดเขียน (2520:30) ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์
        สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์ (2545:10) ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล
     สรุป 
           การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน
    อ้างอิง
     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556 
    สุภาพ วาดเขียน.(2520).วิธีวิจัยเชิงการทดลองทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    สาวิตรี โรจนะสมิต.(2545).มิติใหม่ของการจัดการเรียนรู้.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

    13. การรวบรวมข้อมูล(Data Collection)


    13. การรวบรวมข้อมูล(Data Collection)
        นิรันดร์  จุลทรัพย์(2552:156) ได้กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การเก็บข้อมูล (Data Collection) และการรวบรวมข้อมูล
         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การรวบรวมข้อมูล(Data Collection) โดย ให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร? จากแหล่งไหน? (source of data) เก็บอย่างไร? ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน? อย่างไร? และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 
         http://www.gotoknow.org/posts/396678 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิ จัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย  ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา ได้แก่  แหล่งข้อมูลการวิจัย  เครื่องมือและวิธีการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ตลอดจนการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ซึ่งมีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
    แหล่งข้อมูลการวิจัย
                แหล่งข้อมูลการวิจัย  หมายถึง  แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ  อาจเป็นบุคคล  สิ่งของ  สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้  แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึง ถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
              ประชากร (Population)  หมายถึง  ทุกสิ่ง ทั้งหมดหรือทุกหน่วยของแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษารวบรวม
              กลุ่มตัวอย่าง (Sample group)  หมายถึง  ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
    สรุป 

         การรวบรวมข้อมูล คือ กระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย การ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย  ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา
    อ้างอิง
     
    นิรันดร์  จุลทรัพย์.(2552).การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.บริษัทนำศิลป์โฆษณา จำกัด.          
     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm . เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556 
     http://www.gotoknow.org/posts/396678.เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2556