รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com/ กล่าวว่า สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอนจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่างๆ แล้วในปัจจุบัน
http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
น้ำทิพย์ วิภาวิน ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ คือการเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2.ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
2.1 ดูแผนภาพหรือภาพวาด
2.2 ดูภาพถ่ายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
2.3 ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3.ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4.ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)ของตน เพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6.ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
สรุป
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ สื่อหลายมิติที่ใช้กับการเรียนการสอนจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูลสามารถที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดและสื่อหลายมิติยังเป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆ และผู้เรียนยังสามารถบทเรียนได้มากมาย เช่น เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)ของตน เพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น และอีกอื่นๆ
หนังสืออ้างอิง
น้ำทิพย์ วิภาวิน. http://images.minint.multiply.multiplycontent.com. ประเภทของสื่อการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2555
(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com เข้าถึงเมื่อ 20สิงหาคม 2555
(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 เข้าถึงเมื่อ 20สิงหาคม 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น